รายละเอียดโครงการ

ระบบรางรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ประกอบด้วยวัสดุหลักที่ใช้ ดังนี้
รางเป็นส่วนสําคัญอย่างยิ่งของระบบทางรถไฟทําหน้าที่รับน้ําหนัก และช่วยบังคับทิศทางของรถไฟ รวมถึงช่วยให้การเคลื่อนที่ของรถไฟเป็นไปอย่างราบเรียบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ รางมาตรฐานทั่วไป
และ รางหัวแข็ง ซึ่งในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ใช้รางรถไฟฟ้าทั้งสิ้นประมาณ 59.7 กิโลเมตร โดยมีน้ำหนักประมาณ 7,077 ตัน
ส่วนประกอบทางขวางของทางรถไฟ เพื่อใช้รองและยึดรางรถไฟ ควบคุมขนาดทาง และถ่ายน้ำหนักบรรทุกจากรางรถไฟสู่หินโรยทาง (Ballast) หรือวัสดุอื่นที่รองรับ เช่น พื้นคอนกรีต
ซึ่งในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ใช้รางรถไฟฟ้าทั้งสิ้นประมาณ 85,260 ท่อน
อุปกรณ์ยึดเหนี่ยวรางเป็นส่วนประกอบสําคัญของทางรถไฟที่มีหน้าที่ยึดรั้งให้รางอยู่ติดกับหมอนหรือพื้นคอนกรีตอย่างมั่นคง โดยตลอดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ยึดเหนี่ยวรางนั้น จะมีแรงต่างๆกระทําอยู่ตลอดเวลาเช่น แรงจากการยืดหดตัวและการโก่งตัวออกด้านข้าง รวมไปถึงการขยับขึ้นลงแนวดิ่งของราง แรงกระแทกจากล้อรถไฟทั้งในแนวดิ่ง แนวยาวและด้านข้าง ซึ่งแปรผันไปตามความเร็วของรถไฟและสภาพของทางรถไฟ เป็นต้น
ซึ่งในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ใช้รางรถไฟฟ้าทั้งสิ้นประมาณ 85,260 ชุด
เป็นอุปกรณ์สำหรับติดตั้งไว้ที่รางรถไฟสำหรับให้รถไฟเดินเบี่ยงจากทางเดิมได้เมื่อต้องการประแจสามารถควบคุมได้ด้วยคันกลับที่ตัวประแจ สายลวดดึงรอก หรือมอเตอร์ไฟฟ้าก็ได้
ซึ่งในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ใช้รางรถไฟฟ้าทั้งสิ้นประมาณ 60 ชุด
แป้นปะทะจะถูกติดตั้งไว้ที่จุดปลายรางเพื่อหยุดรถไฟอย่างปลอดภัยไม่ให้รถไฟวิ่งเลยออกไปจนเกิดอุบัติเหตุ มีหลายแบบด้วยกันเช่น เเบบใช้เเรงเสียดทานแบบใช้ Hydraulic Dampers แบบ Mechanical Dampers
ซึ่งในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ใช้รางรถไฟฟ้าทั้งสิ้นประมาณ 14 ชุด
เป็นรางตัวนำลักษณะกึ่งแข็งที่มีกระแสไฟฟ้าเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับขบวนรถไฟอย่างต่อเนื่อง รางนี้จะถูกวางที่ด้านข้างหรือระหว่างรางวิ่งของรถไฟ โดยทั่วไปมันมักจะถูกใช้ในระบบขนส่งมวลชน
หรือระบบรถไฟฟ้าขนส่งความเร็วสูง ส่วนใหญ่รางที่สามจะจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ระบบรถไฟฟ้ามหานครกรุงเทพ ใช้ไฟ 750 VDC
ซึ่งในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ใช้รางรถไฟฟ้าทั้งสิ้นประมาณ 55.9 กิโลเมตร